วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

Here it all... since long time no update.

ม่ได้เข้ามาอัพบล็อกซะนาน วันนี้มารวบยอดมันทีเดียวละกัน
เริ่มจาก

VB _-_Sep 20-27,08
ไปดูมา อิอิ ดูดีล้ำบึก หลายคน


เพ้นหน้าซะหน่อย


VTAM, you're so incredible guys!


เจอข้างหน้าพอดี ขอถ่ายด้วยซะเลย Nath


Thank you party with Jamie Scott and the town, Gazebo Bangkok _-_ Wed_Aug 06,08 (Free ticket loved loved loved!!)

บัตรฟรีค่ะงานนี้









เพื่อนๆที่ได้บัตรฟรี




กรี๊ดๆ Jamie เท่โคตร!


ก็ใจมันหายละลาย ละลาย...


บรรยากาศโดยรอบ



ถ่ายรูปคี่

Ba bye!

Travis and Simple Plan Live in Bangkok!! (how come ?!?)_-_Fri_July 29,08

มันมาจริงๆครับพี่น้อง 2 วงนี้มาด้วยกัน ชอบทราวิสที่ซู้ด







Travis _-_Flowers in the window - Part 1 by me



Travis _-_Flowers in the window - Part 2 by me




I like this cover... Closer_-_Travis ; covered by Over Me.





House under constructed โครงการปรับปรุงบ้าน
(April - September, 08)
ดีดบ้าน หมุนบ้าน ต่อเติมชั้นล่าง เริ่ม เม.ย. 51 ถึงปัจจุบัน (วันที่อัพบล็อก) 22 ก.ย. เหลือปูกระเบื้องหน้าบ้าน ติดประตู้ เหล็กดัด มุ้งลวด ติดตั้งเซ็ตห้องน้ำ ไมมันนานอย่างนี้วะเนี่ย งบบานอย่างแรง




Lazy cat, Foong



วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551

Thairath Sport Day_-_Setter Substitute T_T


no. 10 that's me




Second place... no i want 1st!

อุตส่าซ้อมกับเขาตั้งเดือนสองเดือนแทบตาย สุดท้ายแข่งจริง กลับไม่ได้ลง ก็นะเป็นตัวสำรองก็งี้แหละ แต่ยังไง ไม่ได้เสียหายหนิ ยังช่วยให้น้ำหนักลดลงไปเยอะเลยนะเนี่ย แฮะๆ ดูดีไปเลยช่วงนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

ด้วยร็อค ด้วยเรือ ด้วยรัก ด้วยอาลัย - - - คน สัตว์ สิ่งของ

เนื่องด้วยวันจันทร์ที่ 14 เม.ย. 2551 บิดาของข้าพเจ้าได้ขายโคเขายาวนามว่า "อีลาว" ไปด้วยราคาที่ไม่สมควรกับค่าของชีวิตมัน ด้วยความเศร้าโศกและอาลัยรักในตัวอีลาว ทั้งที่เคยลูบหัว ตบเหลือบ เด็ดเห็บ ป้อนหญ้า มะม่วง ส้ม ข้าวเหนียว และสารพัด จึ่งได้ร่ำไห้น้ำตานองหน้าพร้อมน้องสาว ว่าแต่นี้ไปจะไม่มีอีลาวอีกแล้ว ชีวิตหนอเลือกเกิดไม่ได้ ขอให้เจ้าไปดี ไม่ทรมานก่อนตายเทิด
ด้วยรักและอาลัย น้ำตาหลั่งไหล หัวใจร่ำไห้ คิดถึงยิ่งนัก

อย่ากระนั้นเลยชีวิตแสนสั้น ความเศร้ามันบั่นทอน อย่าไปจมอยู่กับมัน ว่าแล้ววันเสาร์ที่ 26 เม.ย. คณะดนตรี Stereophonics จะมาเปิดแสดงมหรสพบนเรือ ข้าพเจ้าใจระรั่วอยากไปยิ่งนัก ขอให้ได้ไปเทิด
ด้วยอยากร๊อคบนเรือ






วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

ฝีมือดิฮั้นฮ่ะ 2

อื่นๆที่ได้ทำ

วิกฤติเมืองเคนยาระส่ำหนัก หวั่นจุดชนวนฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ [6 ม.ค. 51 - 00:29]

เคนยา หนึ่งในประเทศอดีตอาณานิคมของอังกฤษ ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวโด่งดังไปทั่วโลก สร้างรายได้ ปีละไม่ต่ำกว่า 800 ล้านดอลลาร์ (ราว 27,200 ล้านบาท) และยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นเสมือนแหล่งพึ่งพาเศรษฐกิจสำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก บัดนี้สถานการณ์ภายในเคนยากลับตาลปัตร เกิดเหตุการณ์ปะทุเดือดทางการเมือง ก่อให้เกิดความหวาดวิตก นักท่องเที่ยวไม่กล้าเข้ามาชมความสวยงามของท้องทุ่งเหมือนเก่า

สงครามกลางเมืองเคนยาจุดชนวนขึ้นนับจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 27 ธ.ค. หลังประธานาธิบดี เอ็มวาอิ คิบากิ เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งผู้นำสมัยที่ 2 เกือบทันทีที่ทราบว่าประสบชัยชนะ ขณะที่ นายไรลา โอดิงกา ผู้สมัครชิงชัยพรรคเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยออเรนจ์ (โอดีเอ็ม) ซึ่งพ่ายการเลือกตั้ง ได้กล่าวหานายคิบากิว่าปล้นชัยชนะไปจากตน เนื่องจากมีคะแนนนำมาโดยตลอดในระหว่างนับคะแนน

โดยหลังการนับคะแนนดำเนินไปเกือบ 90% นายโอดิงกานำนายคิบากิถึง 38,000 คะแนน แต่เมื่อผลเลือกตั้งทั่วประเทศประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ นายโอดิงกากลับแพ้ด้วยคะแนนทิ้งห่างถึง 231,728 คะแนน บรรดาผู้สนับสนุนนายโอดิงกาจึงพากันโกรธแค้น ต่างลุกฮือก่อเหตุประท้วงปะทะกับผู้สนับสนุนรัฐบาล ส่งผลให้ทางการเคนยาประกาศภาวะฉุกเฉินในหลายเมือง ตำรวจได้รับคำสั่งให้เข้าควบคุมสถานการณ์ และใช้ปืนกราดยิงผู้ก่อจลาจล ผู้ฉวยโอกาสก่อเหตุปล้นสะดม ส่งผลให้ประชาชนเสียชีวิตหลายร้อยศพ จนสถานการณ์ลุกลามบานปลายกลายเป็นเหตุจลาจลไปทั่วประเทศ

เหตุการณ์ความวุ่นวายในเคนยาจะเรียกว่าเป็นศึกของสองชนเผ่าก็ว่าได้ เนื่องจากประธานาธิบดีคิบากิ วัย 76 ปี มีเชื้อสาย “คิกูยู” ซึ่งเป็นชนเผ่าใหญ่ที่สุดในเคนยา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเคนยามาแล้วหนึ่งสมัย ตั้งแต่ปี 2545 อ้างว่าเขาเป็นผู้กอบกู้เศรษฐกิจให้กับเคนยาตลอดระยะเวลาของการบริหารประเทศ 5 ปี ส่วนโอดิงกา ผู้นำพรรคโอดีเอ็ม วัย 62 ปี เรียกตนเองว่า “ประธานาธิบดีของประชาชน” ได้รับการสนับสนุนจากเผ่า “ลูโอ” ชนเผ่าใหญ่อันดับรองลงมา และเป็นขวัญใจประชาชนผู้ยากไร้ จำนวนมาก

ด้วยเหตุที่ทั้งสองได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าใหญ่ของประเทศ ซึ่งทั่วเคนยามีเผ่าต่างๆมากกว่า 42 เผ่า ทำให้ เกิดความหวาดวิตกว่าสถานการณ์ความรุนแรง อาจลุกลามบานปลายไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหมือน กับที่เกิดในประเทศรวันดาและบุรุนดี ช่วงปี 2533 เห็นได้จากการโจมตีอย่างเหี้ยมโหดของทั้งสองฝ่าย มีทั้งการบุกเผาบ้านเรือนฝ่ายตรงข้าม และก่อม็อบบุกฆ่าฟันกันอย่างไร้ความปรานี เหยื่อเคราะห์ร้ายถูกเผาทั้งเป็น บางรายโดนมีดโต้ฟัน ไม่เว้นเด็ก และสตรี ศพผู้คนทับถมเป็นกองพะเนินมองแล้วน่าเศร้าสลด

ความบาดหมางทางการเมืองที่บานปลายไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเผ่า สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวต่อหลายชีวิต ลงลึกไปถึงครอบครัวชีวิตคู่ นายแฟรงก์ เอ็นดังกู ชายหนุ่มเชื้อสายคิกูยู วัย 23 ปี จากเมืองกีซูมู เล่าว่า ร้านอาหารของเขาถูกเพลิงเผาไหม้วอดวายจากน้ำมือของสองคู่ปรับ ขณะที่เขาคิดว่าคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว แต่แล้วแฟนสาวที่คบหากันมานานหวังแต่งงานใช้ชีวิตร่วมกัน กลับบอกลาตัดความสัมพันธ์ตามมาติดๆ เหตุผลเพียงเพราะเขามีเชื้อสาย “คิกูยู” เช่นเดียวกับประธานาธิบดีคิบากิ

เอ็นดังกูเผยว่า แฟนสาวของเขาชื่อแนนซี่ มีเชื้อสายเผ่ากาเลนจิน เธอบอกเลิกเขาผ่านข้อความโทรศัพท์มือถือ (เอสเอ็มเอส) ซึ่งมีใจความว่า “เนื่อง ด้วยครอบครัวของฉันต่างเกลียดชังเผ่าพันธุ์ “คิกูยู” ต้นกำเนิดของเธอ ฉันเกรงว่าเธอคงไม่ได้รับการต้อนรับจากที่นี่แน่ เราทั้งสองจึงต้องยุติกันเพียงแค่นี้ เพราะมัน ไม่มีอนาคตสำหรับสองเรา”

เอ็นดังกูอ่านข้อความอย่างรันทดน้อยใจ “มันช่างเป็นความซวยซ้ำซวยซ้อนยิ่งนัก ผมสูญเสียทั้งธุรกิจหนึ่งเดียวของผม และสูญเสียคนรักหนึ่งในดวงใจไปพร้อมๆกัน อนิจจา แม้แต่ความรักก็มิได้รับการยกเว้น” ขณะนี้เอ็นดังกูต้องอาศัยหลบนอนอยู่ที่ป้อมตำรวจ ไม่รู้แม้กระทั่งว่าแม่และครอบครัวที่ในเมืองเอลโดเร็ต ที่ซึ่งได้รับเสียหายหนักสุดจากการจลาจลจะมีชะตากรรมเป็นตายร้ายดีเช่นไร “ผมไม่ตำหนิใครดอก พวกเราทุกคนต่างยังต้องการกันและกันอยู่”

ขณะกำลังนำเสนอเรื่องราวในเคนยา สถานการณ์ที่นั่นยังคงน่าเป็นห่วง เกิดเหตุเพลิงไหม้ควันโขมงในเมืองต่างๆอย่างต่อเนื่อง ผู้ประท้วงจุดไฟเผายางรถยนต์ประท้วงตามถนน ร้านค้าหลายแห่งถูกปล้นสะดม เด็กและสตรีผู้อ่อนแอตกเป็นเหยื่อถูกสังหาร ชาวบ้านเข้าแถวยาวเหยียดรอซื้ออาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงกักตุน ประชาชนหลายแสนคนไร้ที่อยู่อาศัย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆราว 350 ศพ ผู้บาดเจ็บหลายพันคนรอรับการรักษา

ปฏิกิริยาจากนานาชาติที่มีต่อดินแดนแห่งนี้ แม้หลายชาติจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ อาทิ ส่งคณะตัวแทนเข้าไกล่เกลี่ย รวมถึงส่งกำลังทรัพย์หลายล้านดอลลาร์มาค้ำจุน แต่การช่วยเหลือจากนานาประเทศเหล่านั้นก็เปรียบเสมือน “ส่งถังน้ำไปร่วมดับเพลิง” เนื่องเพราะในความจริงชาวเคนยาต่างหากที่ต้องทำหน้าที่ดับเพลิงด้วยมือตนเอง กลุ่มผู้สนับสนุนจากทั้งสองฝ่ายต้องระงับความโกรธแค้นและหยุดฆ่าล้างกันเอง บรรดาหัวขโมยก็ต้องไม่ควรฉวยโอกาสปล้นสะดมร้านค้า บีบบังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้ปืนสังหาร โดยเฉพาะ “ตัวต้นเพลิง” คือ ประธานาธิบดีคิบากิ และ นายโอดิงกา ควรหันหน้าประนีประนอม ไม่ว่าฝ่ายไหนจะชนะหรือแพ้ ก็ควรเห็นประโยชน์ความสงบสุขของชาติมาเป็นอันดับแรก

สถานการณ์ระส่ำระสายในเคนยาเวลานี้ เราท่านยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าประเทศร่วมโลกใบเดียวกัน จากทวีปแอฟริกาแดนซาฟารี จะดำเนินไปสู่สันติภาพได้หรือไม่ หรือจะมีจุดจบเฉกเช่น “สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” แบบที่เกิดในรวันดาและบุรุนดีหรือเปล่า...เชื่อว่าอีกไม่นานคงได้คำตอบ!!!

รพีพร นอนโพธิ์

http://www.thairath.com/news.php?section=international&content=74160

และอื่นๆ...

อุแว้! แห่เที่ยวดิสโก้ [21 ธ.ค. 50 - 19:02]
http://203.151.217.25/news.php?section=international04&content=72433


เรื่องเล่น? เต้นระบำ [3 ม.ค. 51 - 19:27]
http://thairath.com/news.php?section=international04&content=73822



ฝีมือดิฮั้นฮ่ะ

วาฬ : พิพาทต่างขั้วคนรัก-คนล่า [20 ม.ค. 51 - 00:20]

ช่วงต้นสัปดาห์มีรายงานว่า 2 นักเคลื่อนไหวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บุกขึ้นเรือล่าวาฬของญี่ปุ่นเพื่อยื่นจดหมายประท้วงการล่าวาฬกลางมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ จนเกิดความชุลมุนวุ่นวาย โดยต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันและกันว่ากระทำการเยี่ยงผู้ก่อการร้าย จนกลายเป็นประเด็นใหญ่โตระดับสากล

ตามข่าวระบุ นักเคลื่อนไหวพิทักษ์สิ่งแวดล้อม 2 คน ได้แก่ นายเบนจามิน พอตต์ส ชาวออสเตรเลีย วัย 28 ปี และ นายไจล์ส เลน ชาวอังกฤษ วัย 35 ปี สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “ซี เชฟเพิร์ด”บุกขึ้นเรือล่าวาฬ “ยูชิน มารุ 2” ของญี่ปุ่น ในน่านน้ำแอนตาร์กติกา ก่อนถูกควบคุมตัวไว้เป็นตัวประกัน

ข้อพิพาทระหว่างกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมต่อต้านการล่าวาฬ กับกลุ่มล่าวาฬเพื่อการวิจัยของญี่ปุ่นเริ่มบานปลาย ภายหลังฝ่ายญี่ปุ่นตั้งเงื่อนไขให้เรือซี เชฟเพิร์ด อยู่ห่างจากเรือญี่ปุ่น 10 ไมล์ทะเล ด้านกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกล่าวโต้ว่าเรือญี่ปุ่นกระทำการเยี่ยงผู้ก่อการร้าย ซึ่งลูกเรือแดนซามูไรได้ออกมาปัดข้อกล่าวหาดังกล่าว และส่งภาพยืนยันว่านักเคลื่อนไหวทั้ง 2 คน ได้รับการปฏิบัติอย่างดี

นายเควิน รัดด์ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ต้องออกมาคลี่คลายปัญหาด้วยตนเอง และวอนให้สองฝ่ายประนีประนอมกัน พร้อมเรียกร้องให้นายสตีเฟน สมิธ รมว.ต่างประเทศออสเตรเลียพูดคุยกับนายยาสุโอะ ฟูกูดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กระทั่งล่าสุดทั้ง 2 คนถูกส่งกลับขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย

แต่ไม่วายที่นายรัดด์ ในฐานะผู้นำออสเตรเลีย ชาติที่ต่อต้านการล่าวาฬอย่างรุนแรงที่สุด จะกล่าวเหน็บการล่าวาฬของญี่ปุ่นว่า “นี่ไม่ใช่การล่าเพื่อการวิจัย แต่เป็นการล่าเชิงพาณิชย์”

ญี่ปุ่นอาศัยประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายห้ามล่าวาฬ เพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดใช้ตั้งแต่ปี 2529 โดยตั้ง “สถาบันวิจัยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม” ให้ล่าวาฬได้โดยมีจุดประสงค์เพื่อการวิจัย แต่สุดท้ายญี่ปุ่นก็ไม่ได้ปิดบังว่าเนื้อวาฬที่ได้จากการล่า ถูกส่งให้กับร้านอาหารในญี่ปุ่น

ทั้งนี้ เกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นล่าวาฬจากน่านน้ำแอนตาร์กติกาไปแล้วกว่า 7,000 ตัว ด้วยเหตุผลที่ว่า การล่าวาฬเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

โดยปีนี้ญี่ปุ่นตั้งเป้าล่าวาฬให้ได้ 1,000 ตัว ท่ามกลางเสียงคัดค้านและเสียงประณามจากนานาประเทศ รวมถึงถูกประท้วงทางการทูตจาก 31 ประเทศ ทำให้ญี่ปุ่นยอมอ่อนข้อยกเลิกการล่า “วาฬหลังค่อม” จำนวน 50 ตัว ซึ่งเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์

เมื่อหันมามองฝ่ายต่อต้านการล่าวาฬ นำโดยกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดัง “กรีนพีซ” ก็รณรงค์อย่างหนัก นำภาพการล่าวาฬอันโหดร้ายและทารุณออกเผยแพร่ให้ชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิยมบริโภคเนื้อวาฬและไม่เคยรับรู้ว่าวาฬถูกฆ่าอย่างโหดร้ายเพียงใด เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่นไม่เคยแพร่ภาพ

ด้านกลุ่ม “ซี เชฟเพิร์ด” ก่อตั้งเมื่อปี 2524 ในรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐฯ โดย พอล วัตสัน นักสิ่งแวดล้อมชาวแคนาดา วัย 57 ปี ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “กรีนพีซ” มีสมาชิกทั่วโลกกว่า 40,000 คน เป็นสมาชิกพร้อมปฏิบัติการถึง 12,000 คน ได้รับเงินทุนสนับสนุนปีละเกือบ 2 ล้านดอลลาร์ (ราว 68 ล้านบาท) จากนักแสดงฮอลลีวูดหลายคน อาทิ มาร์ติน ชีน, เพียร์ซ บรอสแนน และฌอน เพ็นน์ รวมถึงวงร็อกชื่อดังจากแคลิฟอร์เนีย “เรดฮอต ชิลลี่ เปปเปอร์”

กลุ่มซี เชฟเพิร์ดถูกกล่าวหาว่านิยมใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว แต่ทางกลุ่มโต้ว่าที่ผ่านมาไม่เคยทำใครบาดเจ็บ

สำหรับกรณีนี้ นายวัตสันกล่าวหากรีนพีซว่าไม่ดำเนินมาตรการอะไรมากไปกว่าถ่ายทำสารคดีล่าวาฬ และตำหนิกลุ่มล่าวาฬว่า “คนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากพวกล่าช้างในแอฟริกา หรือพวกล่าเสือในอินเดีย”

การบุกขึ้นเรือล่าวาฬ “ยูชิน มารุ 2” โดยฝีมือสมาชิกกลุ่มซี เชฟเพิร์ด นายวัตสันกล่าวต่อไปว่า “ข่าวดีคือพวกเราทำให้ พวกนั้นไม่ได้ฆ่าวาฬ เกือบทั้งอาทิตย์และกิจกรรมล่าวาฬต่างๆก็ยุติลงชั่วขณะ แค่นี้ก็ถือเป็นความสำเร็จของพวกเราในระดับหนึ่งแล้ว” โดยวัตสันให้คำมั่นด้วยว่าจะเดินหน้าคุกคามนักล่าวาฬ ต่อไป

ความพยายามของกลุ่มคนที่ต้องการปกป้องวาฬจากกลุ่มคนที่ต้องการฆ่า จะดำเนินต่อไปอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป แม้ญี่ปุ่นจะยังไม่มีวี่แววยุติการล่าวาฬ แต่อย่างน้อยการเคลื่อนไหวของนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมก็ได้ส่งเสียงให้ชาวโลกรับรู้ และตระหนักว่า “มนุษย์จะยอมให้มีการเข่นฆ่าวาฬกันต่อไปเช่นนั้นหรือ”...

รพีพร นอนโพธิ์